ประวัติความเป็นมาของการนวดแผนโบราณ

   ข้าพเจ้าจะขอเข้าสาระของการนวดแผนโบราณพอสังเขปตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ดังจะเห็นว่าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 รัตนโกสินทร์ตอนต้น

จะเห็นได้ว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวงให้ชื่อว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดเกล้าฯ

ให้รวบรวมและจารึกตำรายา ท่าฤาษีดัดตนและตำราการนวดแผนบรษรไว้ตามศาลาราย

 

   สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงรวบรวมลักษณะโรคและสรรพคุณยา นำเข้ามาทูลเกล้าฯถวาย

จากนั้นได้ตรวจสอบโดยกรมหมอหลวงและบันทึกไว้ในตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ ตำราชุดนี้มี 2 เล่ม คือ “ตำราในโรงพระโอสถ” และ “ตำราพระโอสถ”

   สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนฯ อีกครั้ง และโปรดเกล้าฯให้จารึกตำรายา บอกสมมติฐานของโรค

และวิธีการรักษาไว้บนแผ่นหินอ่อนประดับตามผนังโบสถ์และศาลารายและทรงให้ปลูกต้นสมุนไพรที่หายากไว้ในวัดเป็นจำนวนมากและได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาราม

และได้จารึกตำรายาไว้ในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์ แดนบีช รัดเลย์

ซึ่งคนไทยเรียกว่าหมอ บรัดเล่ย์ ซึ่งนำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกมาใช้ เช่นการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ, การใช้ยาควินินรักษาโรคไข้จับสั่น

 

   สมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความนิยมของชาวไทย

ได้เพราะการแพทย์แผนโบราณเป็นวิถีชีวิตของคนไทย เป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมาและโดยทั่วไปคนไทยยังคงนิยมการแพทย์แผนโบราณอยู่

   สมัยรัชการที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นว่าบรรดาคัมภีร์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยมีคุณประโยชน์ยิ่งยวด

พระองค์ทรงเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาดั้งเดิมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าทรงห่วงใยว่า วิชาการด้านนี้จะสูญสิ้น ดังมีกระแสพระราชดำรัชว่าด้วยเรื่อง “หมอไทยและยาไทย”

ปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 18 พฤษจิกายน รัตนโกสินทร 23 ศก 109 ข้อความว่า “ขอเตือนว่าหมอฝรั่งนั้นดีจริง

แต่ควรให้ยาไทยสูญหายหรือไม่ หมอไทยจะควรไม่ให้มีต่อไปภายหน้าหรือควรจะมีไว้บ้าง ถ้าว่าส่วนตัวฉันเองยังสมัครกินยาไทย และยังวางใจในหมอไทย…”

   พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตั้งโรงพยาบาลศิริราชขึ้น โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนที่ป่วยไข้

โดยมีทั้งแพทย์แผนโบราณของไทยทำการรักษาและมีแพทย์ฝรั่งร่วมด้วย

   พ.ศ. 2432 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยและได้สร้างตำราเล่มแรกชื่อว่า “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” โดยได้จัดพิมพ์เป็นตอนๆ

แบ่งออกเป็นภาคกล่าวรวมทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณและวิชาแพทย์ฝรั่ง โดยมีความประสงค์เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่โรงเรียนราชแพทยาลัยและมหาชนทั่วไป

   พ.ศ. 2446 (14 ปีหลังเปิดโรงเรียนแพทย์) การสอนและการปฏิการแพทย์ไทยในหลักสูตรก็ได้ยุติลง ด้วยเหตุผลที่บันทึกไว้ในหนังสือเวชชนิสิตฉลอง 50 ปีศิริราชว่า

   “การสอนการแพทย์แผนโบราณของไทยไม่มีหลักสูตรและไม่มีวิธีการปฏิบัติรักษาแน่นอนจริงจัง และนักเรียนจะรู้เรื่องการแพทย์แผนโบราณของไทยก็รู้ได้อย่างเดียว

คือต้องท่องจำตำราทางฝ่ายการแพทย์นี้จำกัดอยู่เฉพาะตำราของหลวง มีการดัดแปลงครั้งเดียวเพื่อให้ง่ายเข้า ซึ่งผิดกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่มีหลักสูตรแน่นอน

และตำรามีมากและยังมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อยๆ”

   สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้ยกเลิกการรักษาแผนโบราณออกจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ทำให้การแพทย์แผนโบราณมีบทบาทต่อสังคมไทยน้อยลง

   พ.ศ.2466 ได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับประชาชน

อันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัดผลจากการออกพระราชบัญญัตินี้ ส่งผลให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากที่ไม่เข้าใจและรัฐบาล

อาจจะไม่พร้อมในการประชาสัมพันธ์หรือด้วยประการใดก็มิทราบ เมื่อทราบต่างก็กลัวจะถูกจับ จำเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง แต่ก็ยังมีหมอแผนโบราณ

เพียงจำนวนน้อยหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ประชาชนส่วนมากยังนิยมยาไทยและการรักษาแบบแผนโบราณอยู่มาก

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “พระบิดาแห่งกองทัพเรือ” ได้ทรงศึกษาเวชกรรม เภสัชกรรมแผนโบราณผนวกกับไสยศาสตร์จากพระเกจิอาจารย์ อาทิ

หลวงพ่อศุข(พระครูวิมลคุณาแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท) ได้ทรงเป็นผู้นำในทางการแพทย์แผนโบราณ ทรงให้การรักษาโรคและการเจ็บไข้ได้ป่วยแก่สามัญชนทั่วไป

โดยมิได้คิดมูลค่าใดๆ และมิได้ทรงถือพระองค์แต่อย่างใด จนเป็นที่รู้จักเรียกหากันอย่างกว้างขวางในหมู่ราษฏรแถบนางเลิ้งว่า “หมอพร”

 

   ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน

   วันที่ 5 กันยายน 2475 คณะแพทย์แผนโบราณที่มีใบอณุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้ในขณะนั้นได้รวมกันจัดตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทยขึ้น

ณ วัดเทพธิดาราม พระนครกรุงเทพ โดยการนำของหมอใหญ่ ศีตะวาทิน และได้มีการเปิดสอนวิชาแพทย์แผนโบราณทั้งเวชกรรม เภสัชกรรม หัตถเวชกรรม

หมอนวดแผนโบราณและการผดุงครร์โบราณ มีประชาชนสนใจเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก

   พ.ศ. 2479 ได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2466 และได้ประกาศพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2479 ขึ้นใหม่ อณุญาตให้มีการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้

ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ โดยกำหนดไว้ในมาตรา 4 ว่า “การประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนโบราณ” หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา

อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์และได้จัดแบ่งการแพทย์แผนโบราณออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาเวชกรรม สาขาเภสัชกรรม สาขาการผดุงครรภ์ ให้มีการเรียนแบบสืบทอดความรู้ดั้งเดิม

และสามารถยื่นสมัครสอบรับใบสมัครโรคศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุขได้ปีละ 1 ครั้ง

   สมัยรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2500 คณะอาจารย์บางส่วนจากสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทยวัดเทพธิดารามได้รวมกันจัดตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่วัดพระเชตุพน

(วัดโพธิ์) ท่าเตียน กรุงเทพ และได้ขอใบอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้น โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม เจ้าอาวาสและท่านเจ้าคุณพระวิเชียรธรรมคุณาธาร

รองเจ้าอาวาสเป็นผู้อุปการะตั้งเป็นโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก

   ต่อมาคณาจารย์และลูกศิษย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน(วัดโพธิ์) ก็ได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาคมฯอีกมากมายกระจายไปทั่วประเทศดังเช่น

สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดปรินายก สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดสามพระยา เป็นต้น

   ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าไปเรียนนวดแผนโบราณที่สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดปรินายก เมื่อปี พ.ศ.2517 ในขณะนั้น อาจารย์เจือ ขจรมาลี ผู้ที่มีส่วนร่วมก่อตั้ง

สมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทยกับคณะของคุณหมอใหญ่ ซึ่งในขณะนั้น อาจารย์เจือได้เป็นนายกสมาคมแพทย์แผนโบราณวัดปรินายกและเป็นอาขารย์สอนนวดด้วย

ข้าพเจ้าจึงได้ถ่ายทอดความรู้วิชานวดแผนโบราณจากท่านเต็มที่ ท่านอยู่ในแนวอนุรักษ์นวดแผนโบราณ ข้าพเข้าขึงได้สืบทอดวิชาอนุรักษ์นวดแผนโบราณมาถ่ายทอดให้แก่คนตาบอด

ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิคอลฟีลด์เพื่อคนตาบอดฯ และได้รับใบประกาศนวดแผนโบราณจากสมาคมปี พ.ศ. 2518 และได้ใช้วิชานวดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

   ข้าพเจ้าเห็นว่านวดแผนโบราณของไทยนั้นมีความเหมาะสมและปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์แบบในคนตาบอด ดังนั้นในฐานะที่ข้าพเจ้าได้ทำงานและคุ้นเคยกับการหาอาชีพ

ให้กับคนตาบอดในขณะนั้นเห็นว่าอาชีพอื่นๆ เป็นเรื่องลำบากเพราะสังคมในขณะนั้นยังไม่ยอมรับความสามารถในอาชีพต่างๆ ของคนตาบอด เพียงแต่ข้าพเจ้าได้ใช้อาชีพนวด

แผนโบราณขึ้นและเห็นว่าสังคมยอมรับในอาชีพนี้เป็นอย่างดี จึงได้ดำริจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 แต่เนื่องจากขาดแคลนด้านปัจจัย งานของมูลนิธิจึงเริ่มเปิดสอน

คนตาบอดได้ในปี พ.ศ. 2529 และก็ได้ถ่ายทอดวิชานวดแผนโบราณนี้ตลอดมาและสังคมก็ให้ความไว้วางใจจากหมอนวดของเรา ทุกๆท่านที่จบหลักสูตรของมูลนิธิด้วยดีตลอดมา

แต่อุปสรรคที่มีอยู่ขณะนี้ก็เนื่องจากพระราชบัญญัติปี พ.ศ.2479

   ปี พ.ศ.2523 ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ แพทย์แผนปัจจุบันได้เห็นความสำคัญของการแพทย์แผนโบราณว่ามีคุณอนันต์ สามารถนำพาชีวิตคนไทยให้รอดพ้น

มาจนทุกวันนี้ได้ ท่านจึงได้รวบรวมแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบันที่เห็นคุณค่าของแพทย์แผนโบราณ ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนโบราณเดิมขึ้น ภายใต้

องค์อุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราชสกลสังฆปรินายกและภายใต้พระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    ปี พ.ศ. 2525 มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม ก็ได้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ประยุกต์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศ ภายใต้ชื่อ “โรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย”

    ปี พ.ศ. 2536 ได้มีกลุ่มคณะแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนโบราณ ได้ร่วมกันก่อตั้งการแพทย์แผนไทยขึ้นในกระทรวงสาธาราณสุข (นวดแผนไทย)

   ปี พ.ศ. 2547 มหาวิทลัยมหิดล ศิริราช จะรับหลักสูตรอายุรเวทวิทยาลัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในคณะมหาวิทลัยมหิดล ส่วนข้าพเจ้าก็จะขอใช้คำว่า

อนุรักษ์นวดแผนโบราณให้กับคนตาบอดต่อไป

   ประโยชน์จากการนวดแผนโบราณ เท่าที่ได้ศึกษาย้อนหลังและสืบถามจากอาจารย์เก่าๆในสมัยโบราณนั้น หมอนวดต้องรู้จักใช้ยาสมุนไพรและหมอยาสมุนไพรก็จะต้องรู้จักการนวด

ดังจะเห็นได้ว่าในสมัยโบราณยังไม่มีโรงพยาบาลนั้น เวลามีคนไข้หนักชาวบ้านจะไปตามหมอมานอนกินมารักษาที่บ้านคนไข้ หมอก็จะใช้ยาและนวดประกอบเป็นต้น

   สำหรับคนไข้ที่ไม่หนักที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงก็จะเดินทางมาเจียดยาที่บ้านหมอเป็นต้น ประโยชน์จากการนวดแผนโบราณอย่างถูกวิธีจะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลในทุกๆด้าน

ดังนั้นผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่มีเชื้อโรคอันเกิดจากระบบต่างๆในร่างกายผิดปกติไป เช่นปวดเมื่อย ปวดหลัง เข่าเสื่อม ข้อเสื่อม ไมเกรน เทนนิสเอเบิล และระบบอื่นๆที่บกพร่อง

ถ้าได้ทำการบำบัดจากการนวดอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ ประมาณอาทิตย์ละหน อาการต่างๆก็จะบรรเทาเบาบางและหายไป ทำให้สุขภาพดี แข็งแรง ดูไม่แก่

   ดังนั้นถ้าบุคคลที่ได้รับการบำบัดสม่ำเสมอก็จะสุขภาพดี จุดประสงค์หลักจองการนวดก็คือ กระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น คนเราถ้าเลือดลมไหลเวียนดี อะไรๆก็ดีหมด

รวบรวมเรียบเรียงประวัติความเป้นมาและประโยชน์จากการนวดแผนโบราณ

 

 

โดย

หมอเครื่อง ศรีบัวพันธุ์

อ้างอิงจากบทความพิเศษ ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์

หมอเครื่อง ศรีบัวพันธุ์

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  16,681
Today:  17
PageView/Month:  85

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com